วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลักษณะคำไทยแท้ ๆ

ลักษณะคำไทยแท้

คำไทยแท้แท้มีลักษณะดังนี้

๑. มักเป็นคำพยางค์เดียว

ตัวอย่าง

ชนิดของคำ

ตัวอย่างคำไทยแท้

คำนาม

คำกริยา

คำสรรพนาม

คำวิเศษณ์

คำบุพบท

คำสันธาน

คำอุทาน

แม่ ตา หู ลม แมว บ้าน

กิน ดื่ม เขียน ทำ ส่ง เรียก

ฉัน เขา ท่าน แก่ ข้า เจ้า

สูง เตี้ย หนัก เบา ดำ ขาว เบี้ยว ดี มาก

ใน ใต้ บน ข้าง ริม หลัง ที่

และ ก็ แต่ ถ้า เพราะ แม้

อุ๊ย แหม อ้าว เอ๊ะ ว้า ต๊าย

๒. ตัวสะกดตรงมาตรา

ตัวอย่าง

มาตราตัวสะกด

พยัญชนะสะกด

ตัวอย่างคำไทยแท้

แม่ กก

แม่ กง

แม่ กด

แม่ กน

แม่ กบ

แม่ กม

แม่ เกย

แม่ เกอว

๓. ใช้วรรณยุกต์ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปเพื่อแสดงความหมายของคำ

ตัวอย่าง

เสือ หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง

เสื่อ หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง

เสื้อ หมายถึง เครื่องสวมกาย

ข้อควรจำ

ภาษาอังกฤษ ความหมายจะไม่เปลี่ยนหากพูดโดยปรับระดับเสียงสูง-ต่ำ

๔. คำที่ออกเสียง ไอ มีรูปใช้ดังนี้

ประสมสระ ใอ ไม้ม้วน มีแค่ ๒๐ คำ

ได้แก่

ประสมสระ ไอ ไม้มลาย

เช่น ไข่ ไก่ ไป ฯลฯ

ข้อควรจำ

คำที่ใช้รูป อัย หรือ ไอยเช่น ชัย ขัย ไสย ไม่ใช่คำไทยแท้

๕. ไม่มีตัวการันต์

๖. มักไม่ใช้พยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ ( ๑๔ รูป )

ข้อควรจำ

ส่วนคำว่า ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ใหญ่ หญ้า หญิง สะใภ้ ศอก ศึก เศิก เศร้า ดาษ เป็นคำไทยแท้

ข้อควรระวัง

คำที่มาจากภาษาอื่นบางคำมีลักษณะรูปเหมือนคำไทยแท้

เช่น ชน แปลว่า คน ภาษาบาลี สันสกฤต

บาย แปลว่า ข้าว ภาษาเขมร

หมายเหตุ : บางข้อที่ยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน ที่เราต้องขออภัยอย่างสูง / ขอขอบคุณที่เยี่ยมชม

คำคม

  • รู้ทุกสิ่งในบางอย่าง ย่อมดีกว่ารู้บางอย่างในทุกสิ่ง ( ทุกคนว่าจริงไหม )